
การรักษารากฟัน เป็น วิธีรักษาการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในปากและบุกรุกเข้าไปในขณะที่เกิดฟันผุ ฟันเป็นรู หรืออุบัติเหตุต่อฟันที่ทำให้เนื้อฟันแตก หัก และเกิดเสียหาย การรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยรักษารากฟันโดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไปนั่นเอง ซึ่งหลายคนละเลยปล่อยฟันให้ผุทิ้งไว้ไม่รักษา และอุดฟันให้เรียบร้อยทำให้โรคฟันลุกลามทำลายฟันมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน เกิดการอักเสบและมีฝีหรือถุงหนองที่ปลายรากฟัน มีอาการปวดทรมาน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และทำลายสุขภาพร่างกายอย่างเรื้อรัง จนจำเป็นต้องถอนฟันไปแล้วมิใช่น้อย และเมื่อต้องการแก้ไขด้วยการรักษาฟันไว้ก็อาจสายไปเสียแล้ว
รากเทียม (Implants)
รากฟันเทียม หรือ รากเทียม คือ วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟัน ทำมาจากไททาเนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อช่วยในการทำฟันเทียม ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ ปัจจุบัน การใส่รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีการใส่ฟันปลอมที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง โดยการฝังรากเทียม ซึ่งรากเทียมจะทำจากวัสดุที่ทำให้ร่างกายยอมรับได้ดี ประเภท Titanium ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร มีส่วนประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
1. รากเทียม (Fixture) ซึ่งทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) ซึ่งมีลักษณะ คล้ายรากฟันและจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งสามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่น โดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ
2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เมื่อฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกร จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี หลังจากนั้น จึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟันลงบนรากเทียม เพื่อใช้เป็นที่รองรับ ครอบฟันต่อไป
3. การครอบฟัน (Crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ซึ่งจะทำมาจากเซรามิค (Porcelain) มีรูปร่างลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ
ขั้นตอนวิธี การรักษารากฟัน
ขั้นตอนที่ 1
ทำการฝังรากเทียมลงในกระดูก หลังการผ่าตัด จะเย็บปิดแผล แล้วรอให้ร่างกาย สร้างกระดูกเพื่อยึดติด กับรากเทียม โดยปกติฟันล่างจะรอประมาณ 3 – 4 เดือน ส่วนในฟันบนจะใช้เวลานานกว่าฟันล่าง ประมาณ 6 เดือน
ขั้นตอนที่ 2
การผ่าตัดครั้งที่ 2 โดยทำการผ่าตัดเปิดเหงือกแล้วยึดส่วนแกนฟัน ( Abutment) ลงบนรากเทียมที่ฝังอยู่ในกระดูก จากนั้นจึงปิดแผล และจะเห็นว่ามีส่วน แกนฟัน โผล่ออกมาเพื่อเตรียมรองรับฟันปลอมต่อไป
ขั้นตอนที่ 3
การทำฟันปลอมทับบนแกนฟันและรากเทียม ซึ่งอาจจะเป็นฟันปลอมติดแน่น เช่น ครอบฟัน หรือ ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากที่ทับบนรากฟันเทียม
ขั้นตอนที่ 4
ทำการตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเกิดปัญหาจะได้สามารถรักษาและแก้ไขได้ทันท่วงที